แต่เป็นขั้นตอนสำหรับผู้เริ่มต้นนะคะ คนที่ชำนาญแล้วจะมีวิธีเป็นของตนเอง ข้าน้อยก็ขอเยินยอที่สามารถ
(เพราะว่า วิชา food eng เป็นวิชาทักษะค่ะ ไม่จำเป็นต้องทำวิธีเดียวกัน แต่ต้องได้คำตอบเหมือนกัน ใครทำเยอะ ก็จะเกิดความชำนาญ ก็จะสามารถหาวิธีของตนเองได้ ซึ่งเป็นหนทางแห่งความเป็นเซียน เมื่อถึงเวลานั้นท่านจะรู้ว่า Food engineering นี่สนุกจริงๆ)
เอาละ เรามาเริ่ม 5 ขั้นตอนกันเลย
1. วาด process diagram และตั้งชื่อตัวแปรต่างๆ
2. ป้อนข้อมูลที่มีทั้งหมด (จากโจทย์) ลงใน process diagram
3. เขียนสมการ Total Mass Balance
4. เขียนสมการสมดุลมวลอื่นๆที่ไม่ใช่ total เช่น water, solid, oil, ....
5. เลือกสมการในข้อ 3-4 มาแก้สมการเพื่อหาค่าพารามิเตอร์ต่างๆ
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ลองดูตัวอย่างกันนะคะ
โจทย์
ต้องการปรับความเข้มข้นน้ำเชื่อมความเข้มข้น 20% จำนวน 100 kg ให้มีความเข้มข้นมากขึ้นเป็น 50% ด้วยน้ำตาลทรายบริสุทธิ จงคำนวณหาปริมาณน้ำตาลทรายที่ต้องการ และปริมาณน้ำเชื่อมเข้มข้นที่ได้
วิธีทำ
1. process diagram
โดยให้ S1, S2, S3 = น้ำเชื่อม 20%, น้ำตาลทราย และ น้ำเชื่อม 50% ตามลำดับ
2. ป้อนข้อมูที่มีลงใน diagram
S1 = 100 kg,
S1solid = 0.2x100 kg = 20 kg
S1water = (1-0.2)x100 kg = 80 kg
S3solid = 0.5S3
S3water = (1-0.5)S3 = 0.5S3
3. เขียนสมการ Total mass balance
mass in = mass out
S1 + S2 = S3
แทนค่า
100 + S2 = S3 .........(eq.1)
4. เขียนสมการ mass balance อื่นๆ
Water mass balance
S1water + S2water = S3water
แทนค่า
80 kg + 0 = 0.5S3 ..........(eq.2)
S3 = 80/0.5
= 160 kg
Solid mass balance
S1solid + S2solid = S3solid
แทนค่า
20kg + S2 = 0.5S3 ...............(eq.3)
5. เลือกสมการที่หาค่าตัวแปรที่ต้องการ
จากโจทย์ เราหาค่า น้ำเชื่อมเข้มข้น (S3) ได้แล้ว ดังนั้นเลือกสมการที่ 1 เพื่อแทนค่า และหาค่าปริมาณน้ำต้าลทราย (S2)
แทนค่า S3 ลงใน eq.1
100 kg + S2 = 160 kg
S2 = 160-100 kg = 60 kg
คำตอบของข้อนี้คือ
ต้องใส่น้ำตาลทราย 60 kg
ได้ปริมาณน้ำเชื่อมเข้มข้น 160 kg
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เป็นอย่างไรคะ ง่ายมั้ยคะ
ถ้าอยากทำอีกก็ลองเข้าไปดูใน
http://www.nzifst.org.nz/unitoperations/matlenerg2.htm
http://blowers.chee.arizona.edu/201project/MBIntro.pg1.HTML
http://sst-web.tees.ac.uk/external/U0000504/Notes/ProcessPrinciples/Balance/Balance.html
จบดีกว่า วันนี้เขียนซะยาวเลย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น