จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

คอมพิวเตอร์กับการเรียน

ยุคนี้ มันยิ่งกว่าโลกาภิวัฒน์นะ ว่ามั้ย
ใครจะทำอะไรๆๆๆๆ ที่ไหนๆๆๆ อย่างไรๆๆๆ ก็รู้กันไปหมด
นี่ขนาดประเทศไทยยังไม่ใช้ 3G อย่างเป็นทางการนะนี่

แต่ตอนนี้ครูแก่ๆ อย่างเราขอประกาศเป็นศัตรูกับคอมพิวเตอร์ชั่วคราว
เขียนบทความนี้เสร็จค่อยเป็นมิตรกับมันอีกครั้ง

เราขอประนาม search engine ที่ทำให้เด็กไทยอ่านหนังสือน้อยลง
จากข้อมูลต่างๆ (เยอะ แต่สงสัยว่าเค้าเก็บข้อมูลยังไงนะ) บอกว่าคนไทยอ่านหนังสือน้อยลง
เช่น ปี 2552 คนไทยอ่านหนังสือ 8 บรรทัดต่อปี, ปี 2551 คนไทยอ่านหนังสือเฉลี่ยคนละ 39 นาทีต่อวัน  ลดลงจากปี 2548 ซึ่งคนไทยอ่านหนังสือเฉลี่ย คนละ 46 นาทีต่อวัน

แต่เชื่อมั้ยคะว่าคนไทยน่าจะอ่านหนังสือได้มากกว่านั้น ถ้าไม่มี search engine
ย้อนอดีตไปสมัยเราเป็นเด็ก (หุๆ จินตนาการกันหน่อยนะ)
การที่เราจะหาคำตอบอะไรซักอย่างจากการบ้าน เราจำเป็นต้องอ่านหนังสือคราวละหลายๆ หน้า และอ่านมากกว่า 1 เล่ม เพราะมันจำเป็น
คำตอบมิได้ปรากฏให้เราเห็นง่ายๆ เราต้องค่อยๆ อ่านไปทีละบรรทัดอย่างรวดเร็วเพื่อหามัน
บางครั้งก็ไม่สามารถหาคำตอบตรงๆได้ เราต้องคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ และสรุป เพื่อสร้างคำตอบ
จะให้ง่ายกว่านั้น ก็ลอกเพื่อน...แต่อันนี้ไม่แนะนะคะ
แต่ปัจจุบัน การค้นคว้าง่ายเพียงปลายนิ้ว แค่สัมผัสปุ่่มเล็กๆ หน้าจอคอมพิวเตอร์ แล้วพิมพ์คำว่า google ลงไป อยากได้อะไรก็หามาได้หมด
มีไฮไลท์ให้ด้วยนะว่าคำที่เราต้องการอยู่ตรงไหน
สบาย ไม่ต้องเสียเวลาอ่าน เราสามารถเลื่อน scollbar ไปยังตำแหน่งที่ต้องการ แล้วลอกคำตอบไปส่งคุณครู

ทีนี้เราลองเปรียบเทียบผลได้ผลเสียกันดูนะ ว่าแบบอดีต กับปัจจุบันมันต่างกันอย่างไร
1. การอ่านหนังสือใช้เวลานานกว่าใช้ search engine
2. การสืบค้นข้อมูลด้วยหนังสือ ต้องไปห้องสมุด แต่ search engine สามารถทำเองที่บ้าน สบายๆ
3. ใช้ search engine สามารถค้นคว้าได้ทั่วโลก มองเป็นมุมมองความคิดของผู้อื่นด้วย ไม่ต้องวิเคราะห์เอง
4. ใช้ search engine มีเครื่องมือเยอะกว่า สามารถเปลี่ยน search word ก็ได้ หารูปประกอบก็ได้ วีดีโอก็มี สบ้าย สบายยยยยยยยยยยยย
5. อีกเยอะ ขี้เกียจพิมพ์ค่ะ

ฟังดูแล้วเหมือนวิธีใหม่ๆ ทันสมัยแบบใช้่ search engine จะง่ายดาย มีแต่ข้อดี  เมื่อเทียบกับการค้นคว้าแบบโบราณแล้วสบายผิดกัน
แต่ท่ามกลางข้อเสียของวิธีการค้นคว้าแบบเก่าๆ ก็มีบางอย่างที่ผู้คนมองข้ามไป
การอ่านหนังสือ กว่าเราจะอ่านเจอสิ่งที่ต้องการ สายตาเราต้องผ่านความรู้อื่นๆที่เป็นพื้นฐานก่อน
ความรู้อื่นที่ผ่านเข้ามาในสายตา แม้เราไม่ต้องการแต่มันก็ถูกบันทึกลงในสมองของเราอย่างไม่ตั้งใจ
ความรู้หลากหลายที่ถูกจดจำ มันจะถูกแยกแยะลงในลิ้นชักแห่งความจำแบบเป็นหมวดหมู (อันนี้ ขึ้นอยู่กับแต่ละคนนะ)
เมื่ออ่านจบ สมองเราจะทำงานเรียงลำดับเนื้อความแบบมีตรรกะ
แล้วสมองของเราก็จะเรียบเรียงถ้อยคำเพื่อสั่งให้มือขีดเขียน ตอบคำถามเพื่อให้คนอ่านเข้าใจ

เห็นมั้ยคะว่าหากเราเรียนด้วย search engine ผ่าน network ที่มีคอมพิวเตอร์เป็น interface มันเป็นวิธีเรียนที่บั่นทอนความสามารถของตัวเอง และที่สำคัญ เป็นการเรียนที่ดูถูกตัวเองมาก มันไม่ต่างอะไรกับวีธีการลอกการบ้านจากเพื่อนเลยนะคะ

เอาละ ถึงตอนนี้ เราขอถอนคำพูด (ซะงั้น)
เราขอกลับไปเป็นมิตรกับคอมพิวเตอร์เหมือนดังเดิม

ขอกลับคำให้การ นักเรียน นักศึกษา ก็สามารถใช้ search engine เพื่อเรียนหนังสือได้
แต่.......นักศึกษาควร
1. เลือกสื่อที่ใช้ เช่น เป็น e-book ที่มีสำนักพิมพ์รับรอง
2. เลือกอ่าน journal ที่มีวิธีทดลองอย่างเป็นระบบ
3. เวบบลอก (แบบที่กำลังอ่านอยู่นี่) มักเขียนขึ้นมาจากบุคคลที่ไม่ทราบตัวตน ควรพิจารณาให้ดี อย่าเพิ่งไปเชื่อนะคะ ต้องพิจารณาก่อน
4. อย่าใช้เครื่องมือ หรือโปรแกรมช่วยค้นหาคำในหน้าจอ นักศึกษาควรอ่านเพื่อออกกำลังสมอง คิดเยอะๆ อ่านเยอะๆ ฉลาดๆ
5. อ่านมากกว่า 1 แหล่ง เพื่อเพิ่มสถิติความหน้าเชื่อถือของข้อมูล
6. อีกเยอะ ช่วยกันคิดหน่อยสิ

สุดท้ายแล้ว นักศึกษาควรออกกำลังกายนะคะ ไปห้องสมุดบ้างเพื่อสร้างสถิติการอ่านหนังสือให้ชาติ

ช่วยชาติพัฒนา กายาแข็งแรง





(รอบนี้ แอบพูดให้ดูดีแบบพวกจบ IT อิอิ ความจริงมีความรู้เท่าหางลูกน้ำ)

อ้างอิง
http://panchalee.wordpress.com/2011/01/25/decadeofreading/
http://muangthai.premierbestbuys.com/tour-thailand-24503.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น